Monday, July 15, 2013

ซอยเจริญกรุง 36 เปลี่ยนชื่อกระชับความสัมพันธ์ไทยฝรั่งเศส


     วันที่ 15 ก.พ. 56 สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ได้จัดพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ซอยเจริญกรุง 36 (หรือซอยโรงภาษีเก่า) จะมีชื่อใหม่อีกชื่อว่า "รู เดอ แบรสต์" (Rue De Brest) หรือ "ถนนแบรสต์" ซึ่งซอยดังกล่าวเป็นที่ตั้งของสถานทูตฯ รวมถึงทำเนียบของเอกอัครราชทูตด้วย

     ผู้เสนอชื่อถนนนี้คือ ท่านทูตฌิลดาร์ เลอลีเดค อดีตเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ซึ่งกลับมาร่วมพิธีฉลองครั้งนี้ โดยมีท่านทูตตีแยรี วีโต เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยและภริยา ตัวแทนจากกระทรวงวัฒนธรรมและกรุงเทพมหานครและท่านรองปลัดกรุงเทพมหานคร ฯ ร่วมเปิดป้ายชื่อถนน และมีนายกเทศมนตรีเมืองแบรสต์เดินทางมาร่วมงานด้วย

     ย้อนไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2229 คณะราชทูตสยามนำโดยเจ้าพระยาโกษาปาน เดินทางทางเรือถึงประเทศฝรั่งเศสโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เมืองแวร์ซายส์ และขึ้นฝั่งที่เมืองแบรสต์ แคว้นเบรอตาญของประเทศฝรั่งเศส 
ถนน "รู เดอ สยาม" เมืองแบรสต์ ฝรั่งเศส 

     ชาวเมืองเรียก "ถนนแซงต์-ปิแอร์" ซึ่งคณะราชทูตใช้เป็นทางผ่านว่า "รู เดอ สยาม" (Rue De Siam) หรือ "ถนนสยาม" จนคุ้นเคย และใช้ชื่อนี้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2354 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวผ่านไปเกือบ 202 ปีแล้ว ในเมือง "แบรสต์" เมืองประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยฝรั่งเศส


ภายในงานนอกจากพิธีการเปิดป้ายถนนแบรสต์อย่างเป็นทางการแล้ว ยังมีกิจกรรมด้านวัฒนธรรมและอาหารของแคว้น "เบรอตาญ" ลิ้มลอง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน UBIFRANCE, สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดฟินิสแตร์ (ฝรั่งเศส), หอการค้าฝรั่งเศส-ไทย, ศูนย์การค้าโอ.พี.การ์เด้น, บจม.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ และโรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค


     นอกจากนี้ยังมีการแสดงจากศิลปินดนตรีพื้นเมือง Kerlenn-Pondi จากเมืองแบรสต์ ชมการเต้นรำแบบพื้นเมืองของแคว้นเบรอตาญ โดยคณะนักศึกษาไทยของมหาวิทยาลัยรังสิต รวมทั้งนิทรรศการ "ประวัติของถนนสยาม" ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 จนกระทั่งปัจจุบัน บนกำแพงของสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ซึ่งจัดทำโดยฝ่ายข้อมูลของเทศบาลเมืองแบรสต์





Sunday, July 7, 2013

มาดูอาหารขึ้นชื่อของฝรั่งเศสกันจ้า

วันนี้เรามาดูอาหารขึ้นชื่อของประเทศฝรั่งเศสกันว่ามีอะไรบ้าง แล้วรู้จักกันบ้างมั้ยน้า >.<


     ครัวซอง ( croissant) คือขนมอบชนิดหนึ่งที่กรอบ ชุ่มเนย และโดยทั่วไปจะมีลักษณะโค้งอันเป็นที่มาของชื่อ "croissant" ซึ่งในภาษาฝรั่งเศสหมายถึง "จันทร์เสี้ยว" บางทีก็ถูกเรียกว่า crescent roll (โรลจันทร์เสี้ยว)การทำครัวซองค์จะต้องใช้แป้งพายชั้น (puff pastry - พัฟ เพสทรี่) ที่ผสมยีสต์ นำมารีดให้เป็นแผ่น วางชั้นของเนยลงไป พับและรีดให้เป็นแผ่นซ้ำไปมา ตัดเป็นแผ่นสามเหลี่ยม นำไปม้วนจากด้านกว้างไปด้านแหลม บิดปลายให้โค้งเข้าหากัน อบโดยใช้ไฟแรงให้เนยที่แทรกอยู่เป็นชั้นดันแป้งให้ฟูก่อน จึงค่อยลดไฟลงไม่ให้ไหม้


     ฟัวกรา ( Foie gras ) แปลเทียบเคียงว่า fat liver คือตับห่านหรือเป็ดที่ถูกเลี้ยงให้อ้วนเกิน ฟัวกราได้ชื่อว่าเป็นอาหารฝรั่งเศสที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับทรัฟเฟิล มีลักษณะนุ่มมันและมีรสชาติที่แตกต่างจากตับของเป็ดหรือห่านธรรมดา
     ใน พ.ศ. 2548 ทั่วโลกมีการผลิตฟัวกราประมาณ 23,500 ตัน ในจำนวนนี้ ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตมากที่สุดคือ 18,450 ตัน หรือร้อยละ 75 ของทั้งหมด โดยร้อยละ 96 ของฟัวกราจากฝรั่งเศสมาจากตับเป็ด และร้อยละ 4 มาจากตับห่าน ประเทศฝรั่งเศสบริโภคฟัวกราใน พ.ศ. 2548 เป็นจำนวน 19,000 ตัน
     ประเทศฮังการีผลิตฟัวกรามากเป็นอันดับสอง และส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ 1,920 ตันใน พ.ศ. 2548 โดยเกือบทั้งหมดส่งออกไปที่ฝรั่งเศส


     คีช ( quiche) เป็นอาหารจานอบชนิดหนึ่งโดยมีส่วนประกอบหลักคือ ไข่ นม หรือ ครีม ถึงแม้ว่าคีชจะมีลักษณะคล้ายพายแต่คีชถูกจัดเป็นอาหารคาว โดยในคีชอาจมีส่วนประกอบอื่นเช่น เนื้อสัตว์ ผัก เนยแข็ง     ถึงแม้ว่าคีชจะมีส่วนประกอบหลายอย่างคล้ายอาหารประเภทพาสตา แต่ไม่ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของพาสตา


ราทาทุย ( Ratatouille ) เป็นอาหารพื้นเมืองของฝรั่งเศส ในเขต Provençal โดยมีลักษณะเป็นสตูว์ผัก มีต้นกำเนิดมาจากเมือง Nice ทานตอนใต้ของฝรั่งเศส อาหารชนิดนี้มีชื่อเต็มว่า ratatouille niçoise
       คำว่า ratatouille มาจากภาษาอ็อกซิตันว่า "ratatolha" ราทาทุยปัจจุบันพบเห็นได้ที่ Occitan Provença และ Niça โดยมักจะทำในหน้าร้อนโดยใช้ผักในฤดูร้อน Ratatolha de Niça สูตรดั้งเดิมนั้นจะใช้เพียงแค่ ซุชีนี่, มะเขือเทศ, พริกหยวกแดงและเขียว, หัวหอม, และกระเทียม ราทาทุยในปัจจุบันจะมีการใส่มะเขือลงไปในส่วนผสมด้วย
     ปกติราทาทุยจะเสิร์ฟเป็นอาหารข้างเคียงกับอาหารหลัก หรือบางครั้งก็เสิร์ฟเป็นอาหารหลักบนโต๊ะอาหาร


ขนมปังฝรั่งเศส

     บาเกต ( baguette) หรือ ขนมปังฝรั่งเศส เป็นขนมปังมีลักษณะรูปทรงเป็นแท่งยาวขนาดใหญ่ เปลือกนอกแข็งกรอบ เนื้อในนุ่มเหนียว และเป็นโพรงอากาศ มักนำมาหั่นเฉียงเป็นแผ่นหนา เพื่อรับประทานกับซุป ปาดเนยสด หรือประกอบทำเป็นแซนด์วิช
     ปาเต ( pâté) เป็นอาหารยุโรปประเภทหนึ่ง ในภาษาฝรั่งเศสหมายถึงเนื้อบดผสมไขมัน ปาเตโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นซอสสำหรับทา ทำจากเนื้อบดละเอียดหรือส่วนผสมของเนื้อและตับบดหยาบ ๆ และมักผสมไขมัน ผัก สมุนไพร เครื่องเทศ หรือไวน์ เป็นต้น
     ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศเบลเยียม ปาเตอาจใช้เป็นไส้พายหรือขนมปังแถว เรียก "ปาเตอ็องกรูต" (ฝรั่งเศส: pâté en croûte) หรือใช้อบด้วยแตร์รีนหรือแม่พิมพ์แบบอื่น เรียก "ปาเตอ็องแตร์รีน" (ฝรั่งเศส: pâté en terrine) ปาเตประเภทที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ "ปาเตเดอฟัวกราส์" (ฝรั่งเศส: pâté de foie gras) ทำจากตับของห่านที่ขุนจนอ้วน คำว่า "ฟัวกราส์อองตีเยร์" (ฝรั่งเศส: foie gras entier) หมายถึง ตับห่านธรรมดาที่ได้รับการปรุงสุกและหั่นเป็นแผ่น ไม่ใช่ปาเต
     ส่วนในประเทศฮอลแลนด์ ประเทศเยอรมนี ประเทศฟินแลนด์ ประเทศฮังการี ประเทศสวีเดน และประเทศออสเตรีย ปาเตที่ทำจากตับบางชนิดจะมีลักษณะอ่อนยวบ โดยมากเป็นไส้กรอกที่ใช้ทาได้ ภาษาดัตช์เรียก "leverworst" ภาษาเยอรมันเรียก "leberwurst"

เห็นมั้ยค่ะว่าอาหารฝรั่งเศสที่น่ารับประทานมาเยอะแยะเลย ทั้งยังมีที่มาที่ไปซะด้วย อย่างนี้ต้องไปหาทานบ้างซะแล้ว ฟิ้วววว