Sunday, September 15, 2013

เงินสกุลอะไรเอ่ย ไร้ค่ายิ่งกว่ากระดาษชำระ

เงินสกุลอะไรเอ่ย ไร้ค่ายิ่งกว่ากระดาษชำระ? ก็ เงินซิมบับเว ไง ทำไมถึงเขียนขนาดนี้ ก็เนื่องจากถึงคุณพกเงินสกุลนี้ไปก็แทบจะซื้ออะไรไม่ได้หนักกระเป๋าเปล่า แม้แต่ในประเทศ ซิมบับเว เองก็ตาม มันด้อยค่าถึงขั้นบางช่วงเวลา 100,000,000,000 (หนึ่งแสนล้านดอลลาร์ซิมบับเว) ซื้อไข่ได้แค่ 3 ฟอง


ย้อนกลับไป 6 ปีก่อน ซิมบับเวนี้ก็ไม่ได้ต่างจากประเทศอื่นๆทั่วไป
หากแต่การบริหารงานที่ผิดพลาดและขาดความเข้าใจของผู้นำรัฐบาล กลับสร้างหายนะอย่างใหญ่หลวงต่อประชาชนทุกคน
ชนิดที่ โลกต้องจารึกไว้เป็นอีกบทนึงของประวัติศาสตร์การเงินโลกกันเลยทีเดียว

ประชากรชาว ซิมบับเว มีทั้ง “คนผิวขาวและคนผิวดำ” อาศัยอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพา
คนผิวขาวที่ย้ายมาตั้งรกราก เป็นเจ้าของที่ดินและฟาร์มเกษตร ส่วนคนผิวดำ เป็นชนชั้นแรงงาน

 คนขาว รับหน้าที่ เป็นผู้บริหารชั้นดี

 ส่วนคนดำเป็นแรงงานมีฝีมือ

ทุกอย่างลงตัว .......

จนกระทั่งช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ในยุคสมัยของนายกรัฐมนตรี โรเบิร์ต มูกาเบ้ (Robert Mugabe)
รัฐบาลออกกฎหมาย ใหม่ปฎิวัติการจัดการที่ดินทำกิน (Land Reform)
เนื้อหาสำคัญก็คือ ช่วยคนผิวดำซึ่งเป็นคนพื้นเมือง ให้มีที่ดินเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตกเป็นลูกจ้างของคนผิวขาวอีกต่อไป
เกิดการยึดคืนที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธ์ของคนผิวขาวแล้วเอาไปแจก ให้กับคนผิวดำ

......เท่านั้นเองปัญหาเกิด

จากคนผิวดำ ซึ่งเคยเป็นกรรมกร บัดนี้ได้เลื่อนขั้นกลายเป็นเจ้าของที่ดิน จำเป็นต้องมาบริหาร
จากคนผิวขาวที่เคยบริหารกลับสูญสิ้นทุกอย่างที่เคยเป็นของตัวเอง จำเป็นต้องรับสภาพ กรรมกร !
เหมือนใช้คนไม่ถูกกับประเภทงาน ด้วยความที่ด้อยการศึกษาและขาดทักษะบริหารจัดการ
ไม่นานระบบเศรษฐกิจที่เคยรุ่งเรืองของ ซิมบับเว ก็ดิ่งลงเหว เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย
สุดท้ายไม่วายเป็นหนี้ IMF

ในปี 2006 ปัญหาหนี้สินของประเทศ เกินเยียวยา
ผู้ว่าการธนาคารกลางในขณะนั้นเกิด ปิ๊งไอเดีย (ง่ายๆแต่ไม่ฉลาด) ในการใช้หนี้คืน นั่นก็คือการพิมพ์เงิน” (คุ้นๆมั๊ยครับ?)

สกุลเงิน ซิมบับเวียนดอลล่าห์ (Zimbabwean Dollar : ZWD) มีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ประมาณ
1.59 Zim-Dollar แลกได้ 1 US-Dollar

ในเมื่อประเทศเราเป็นหนี้ IMF ในสกุลเงินดอลล่าห์ เราก็แค่ พิมพ์เงินประเทศเราเอาไปซื้อดอลล่าห์
เสร็จแล้วก็ เอาไปใช้หนี้คืน ง่ายๆ ไม่น่าจะมีอะไรยาก

16 กพ 2006 : ธนาคารกลางซิมบับเว จึงจัดพิมพ์เงินครั้งใหญ่
มูลค่า 21 Trillion (21,000,000,000,000 ZWD) เพื่อสะสางปัญหา

ได้ผล ! หนี้หายวับไปกับตา แต่ผลที่ตามมากลับกลายเป็นว่า “โหดร้ายมากกว่าเป็นหนี้หลายเท่าตัว


เงิน 21T ออกไปเที่ยว ตปท ได้ไม่นานก็หมุนเวียนกลับเข้ามาในระบบศก.ของซิมบับเวเอง
สกุลเงิน ZWD เจือจางลงอย่างรวดเร็ว สินค้าทุกอย่างปรับขึ้นราคาตามในทันที
เดือดร้อนถึง นายกโรเบิร์ต มูกาเบ้ ที่ต้องรีบสั่งการให้ ธนาคารกลางแก้ไข ปัญหาโดยด่วน
ซึ่งแน่นอน อาวุธคู่กายธนาคารกลางทุกประเทศมีแค่ สองอย่างคือ  1 อัตราดอกเบี้ย 2 พิมพ์เงินแต่สำหรับ ซิมบับเว

พิมพ์ พิมพ์ พิมพ์ และ ก็พิมพ์ คือ คำตอบสุดท้าย


ในเดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน ปริมาณเงินอีก 60T ! ถูกอัดฉีดเข้าระบบ
วัตถุประสงค์ก็เพื่อจ่ายเพิ่มเป็นเงินเดือนให้กับบรรดา ทหาร ตำรวจและข้าราชการ เพราะข้าวของแพงเหลือเกิน
แต่กลับยิ่งทำให้ปัญหาเงินเฟ้อรุนแรงเข้าไปอีก
เพื่อเป็นการยับยั้งและจัดระเบียบกันใหม่ ให้เงินสกุล ZWD ยังคงดูน่าเชื่อถือต่อไป
สิงหาคมในปีนั้น ธนาคารกลางตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบ ธนบัตรใหม่ทั้งหมด
โดยขอร้องให้ประชาชนนำ ธนบัตรรุ่นเดิมมาแลก

แต่ภายใต้ข้อแม้ว่า 1000 ZWD เก่า แลกได้เพียง 1 ZWD ใหม่ (ตัด 0 ออกสามตัว)

หากคุณมีเงินฝากในธนาคาร 1 ล้าน วันรุ่งขึ้นยอดเงินฝากจะลดลงเหลือเพียง 1 พัน เท่านั้น !!
ทำกันถึงขนาดนั้น แต่ปัญหาก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทา ......

ปี 2007 อัตราเงินเฟ้อยังคงพุ่งต่อเนื่อง ผลที่ตามมาคือสินค้าขึ้นราคาราวกับติดจรวด
รัฐบาลของมูกาเบ้ ตัดสินใจใช้มุกใหม่ (แต่เป็นแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ)
ออกกฎหมายควบคุมราคาสินค้าทุกอย่าง (Price control) ร้านค้าใดหากไม่ทำตามถือว่ามีความผิด 


ผลที่ตามมากลับกลายเป็นว่า ในเมื่อขึ้นราคาสินค้าไม่ได้ก็ “ไม่ขาย
สินค้าใน ซุปเปอร์มาร์เก็ต เริ่มถูกเก็บลงจากชั้นวาง เหลือแต่ความว่างเปล่า
การกำหนดราคาขายสินค้าอุปโภคบริโภค เสื้อผ้า ยารักษาโรค เริ่มกำหนดกันเองในตลาดมืด พร้อมๆกับการกักตุนสินค้า
เงิน ZWD กลายเป็น “เงินร้อน” ประชาชนรีบใช้มันทันทีเมื่อได้มันมา
ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อัตราเงินเฟ้อ จึงยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ

มกราคม 2008
รัฐบาลออกธนบัตรใหม่ชนิดราคา 200,000 ใช้เป็นครั้งแรก !
แต่ยังไม่ทันจะสิ้นเดือน ธนบัตรชนิดราคา 10,000,000 ก็ถูกผลิตขึ้นมา
ถือเป็นแบงค์ที่มูลค่าแพงที่สุดในขณะนั้น แต่หากคิดเทียบเป็นเงินบาทไทย คงใช้ซื้อข้าวผัดกระเพราได้เพียงแค่ 4 จาน (120 บาท)

เมษายน 2008
รัฐบาลออกธนบัตร ชนิดราคา 50,000,000 ออกสู่สาธารณะ

มิถุนายน 2008
ธนบัตร ชนิดราคา 100,000,000 และ 250,000,000 ก็ถูกผลิตออกมา
แต่แค่เพียง สิบวันหลังจากนั้น ชนิดราคา 500,000,000 ก็ออกตามมาติดๆ

กรกฎาคม 2008
ธนาคารกลางวางแผน จะออกธนบัตรชนิดราคา 100,000,000,000 ออกสู่ตลาด
แต่พอถึงปลายเดือน ประธานธนาคารกลางเลือกที่จะขอปรับค่าเงินกันใหม่ (Redenominated)
โดยคราวนี้ ตัด 0 ข้างหลังออก 10 ตัว !!!!!!
(10,000,000,000 ZWD เก่าแลกได้เพียง 1 ZWD ใหม่)

อัตราเงินเฟ้อในขณะนั้นคือ 11,250,000 % !
ราคาของเบียร์ 1 ขวดในขณะนั้น 100,000,000,000 แต่เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงถัดมา
ราคาก็ปรับขึ้นเป็น 150,000,000,000

ความคิดของรัฐบาลและธนาคารกลางที่ จะแก้ปัญหาโดยการพิมพ์เงินอัดฉีดเข้าระบบ ไม่สัมฤทธิ์ผล
สาเหตุก็เพราะ

ความเชื่อถือในระบบธนบัตรของประชาชนชาวซิมบับเว ลดลงเร็วกว่า ความสามารถในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์

ไม่ว่าจะเร่งสปีดพิมพ์เพิ่มออกมามากขนาดไหน ไม่สำคัญว่าจะใส่ 0 ไปอีกซักกี่ตัว
เมื่อ กระดาษก็คือกระดาษ ความน่าเชื่อถือหากหมดไปจากกระดาษ ก็คือ จบ...

มูกาเบ้ ไม่เข้าใจความจริงในข้อนี้ เค้าเลือกที่จะสู้หลังพิงฝากับเงินเฟ้อ

มกราคม ปี 2009
ในเมื่อไม่มีอะไรจะเสีย ประชาชนชาวซิมบับเว จึงได้เห็น ธนบัตร ชนิดราคา 50,000,000,000ออกใช้

16 มกราคม 2009
วันที่โลกต้องจดจำ รัฐบาลของมูกาเบ้ ประกาศจะพิมพ์ ธนบัตร ชนิดราคา

10,000,000,000,000 - อ่านว่า สิบ ล้านล้าน
20,000,000,000,000 - อ่านว่า ยี่สิบ ล้านล้าน
50,000,000,000,000 - อ่านว่า ห้าสิบ ล้านล้าน
100,000,000,000,000 - อ่านว่า หนึ่งร้อย ล้านล้าน

ออกใช้.....

แต่ไม่มีความหมายอีกต่อไป ประชาชนเลิกพกเงินเป็นกระสอบๆ เพื่อไปจ่ายตลาด
เงินสกุล ซิมบับเว ไม่มีใครเชื่อถือและอยากใช้ การซื้อขายทั่วไป
ถูกกำหนดราคากันใหม่ด้วย เงินสกุลเงินตราต่างประเทศ เช่น US.Dollar
หรือไม่เช่นนั้นก็ทำการซื้อขายกันด้วย

ทองคำ

ประชาชนชาว ซิมบับเว บางส่วน (ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ) ย้อนกลับไปสู่ยุคโบราญ
เอากะทะไปร่อนหาเศษทองในแม่น้ำ เพื่อเอามาแลกกับ ข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำมันพืช หรือ ขนมปัง ประทังชีวิตไปวันๆ
ใคร ที่ยังเก็บทองคำติดตัวเอาไว้ ยังสามารถซื้อของได้เท่าเดิม แต่ผู้ที่เก็บเงินออมไว้ในรูปแบบของ “ธนบัตร” ซิมบับเวเผื่อไว้ใช้ยามแก่
กลับพบว่าเงินทั้งหมดแทบไม่พอที่จะจ่ายแม้แค่ “อาหารเช้าเพียง 1 มื้อ

เมษายน ปี 2009
สกุลเงิน ZWD ตายสนิท รัฐบาล ปล่อยให้ตลาดเป็นคนกำหนด ราคาและสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนกันเอง
เงิน ZWD ประกาศหยุดพิมพ์เพิ่ม อย่างน้อย 1 ปีหลังจากนั้น
เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาด้วยตัวของมันเอง 

Monday, July 15, 2013

ซอยเจริญกรุง 36 เปลี่ยนชื่อกระชับความสัมพันธ์ไทยฝรั่งเศส


     วันที่ 15 ก.พ. 56 สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ได้จัดพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ซอยเจริญกรุง 36 (หรือซอยโรงภาษีเก่า) จะมีชื่อใหม่อีกชื่อว่า "รู เดอ แบรสต์" (Rue De Brest) หรือ "ถนนแบรสต์" ซึ่งซอยดังกล่าวเป็นที่ตั้งของสถานทูตฯ รวมถึงทำเนียบของเอกอัครราชทูตด้วย

     ผู้เสนอชื่อถนนนี้คือ ท่านทูตฌิลดาร์ เลอลีเดค อดีตเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ซึ่งกลับมาร่วมพิธีฉลองครั้งนี้ โดยมีท่านทูตตีแยรี วีโต เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยและภริยา ตัวแทนจากกระทรวงวัฒนธรรมและกรุงเทพมหานครและท่านรองปลัดกรุงเทพมหานคร ฯ ร่วมเปิดป้ายชื่อถนน และมีนายกเทศมนตรีเมืองแบรสต์เดินทางมาร่วมงานด้วย

     ย้อนไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2229 คณะราชทูตสยามนำโดยเจ้าพระยาโกษาปาน เดินทางทางเรือถึงประเทศฝรั่งเศสโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เมืองแวร์ซายส์ และขึ้นฝั่งที่เมืองแบรสต์ แคว้นเบรอตาญของประเทศฝรั่งเศส 
ถนน "รู เดอ สยาม" เมืองแบรสต์ ฝรั่งเศส 

     ชาวเมืองเรียก "ถนนแซงต์-ปิแอร์" ซึ่งคณะราชทูตใช้เป็นทางผ่านว่า "รู เดอ สยาม" (Rue De Siam) หรือ "ถนนสยาม" จนคุ้นเคย และใช้ชื่อนี้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2354 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวผ่านไปเกือบ 202 ปีแล้ว ในเมือง "แบรสต์" เมืองประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยฝรั่งเศส


ภายในงานนอกจากพิธีการเปิดป้ายถนนแบรสต์อย่างเป็นทางการแล้ว ยังมีกิจกรรมด้านวัฒนธรรมและอาหารของแคว้น "เบรอตาญ" ลิ้มลอง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน UBIFRANCE, สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดฟินิสแตร์ (ฝรั่งเศส), หอการค้าฝรั่งเศส-ไทย, ศูนย์การค้าโอ.พี.การ์เด้น, บจม.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ และโรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค


     นอกจากนี้ยังมีการแสดงจากศิลปินดนตรีพื้นเมือง Kerlenn-Pondi จากเมืองแบรสต์ ชมการเต้นรำแบบพื้นเมืองของแคว้นเบรอตาญ โดยคณะนักศึกษาไทยของมหาวิทยาลัยรังสิต รวมทั้งนิทรรศการ "ประวัติของถนนสยาม" ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 จนกระทั่งปัจจุบัน บนกำแพงของสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ซึ่งจัดทำโดยฝ่ายข้อมูลของเทศบาลเมืองแบรสต์





Sunday, July 7, 2013

มาดูอาหารขึ้นชื่อของฝรั่งเศสกันจ้า

วันนี้เรามาดูอาหารขึ้นชื่อของประเทศฝรั่งเศสกันว่ามีอะไรบ้าง แล้วรู้จักกันบ้างมั้ยน้า >.<


     ครัวซอง ( croissant) คือขนมอบชนิดหนึ่งที่กรอบ ชุ่มเนย และโดยทั่วไปจะมีลักษณะโค้งอันเป็นที่มาของชื่อ "croissant" ซึ่งในภาษาฝรั่งเศสหมายถึง "จันทร์เสี้ยว" บางทีก็ถูกเรียกว่า crescent roll (โรลจันทร์เสี้ยว)การทำครัวซองค์จะต้องใช้แป้งพายชั้น (puff pastry - พัฟ เพสทรี่) ที่ผสมยีสต์ นำมารีดให้เป็นแผ่น วางชั้นของเนยลงไป พับและรีดให้เป็นแผ่นซ้ำไปมา ตัดเป็นแผ่นสามเหลี่ยม นำไปม้วนจากด้านกว้างไปด้านแหลม บิดปลายให้โค้งเข้าหากัน อบโดยใช้ไฟแรงให้เนยที่แทรกอยู่เป็นชั้นดันแป้งให้ฟูก่อน จึงค่อยลดไฟลงไม่ให้ไหม้


     ฟัวกรา ( Foie gras ) แปลเทียบเคียงว่า fat liver คือตับห่านหรือเป็ดที่ถูกเลี้ยงให้อ้วนเกิน ฟัวกราได้ชื่อว่าเป็นอาหารฝรั่งเศสที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับทรัฟเฟิล มีลักษณะนุ่มมันและมีรสชาติที่แตกต่างจากตับของเป็ดหรือห่านธรรมดา
     ใน พ.ศ. 2548 ทั่วโลกมีการผลิตฟัวกราประมาณ 23,500 ตัน ในจำนวนนี้ ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตมากที่สุดคือ 18,450 ตัน หรือร้อยละ 75 ของทั้งหมด โดยร้อยละ 96 ของฟัวกราจากฝรั่งเศสมาจากตับเป็ด และร้อยละ 4 มาจากตับห่าน ประเทศฝรั่งเศสบริโภคฟัวกราใน พ.ศ. 2548 เป็นจำนวน 19,000 ตัน
     ประเทศฮังการีผลิตฟัวกรามากเป็นอันดับสอง และส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ 1,920 ตันใน พ.ศ. 2548 โดยเกือบทั้งหมดส่งออกไปที่ฝรั่งเศส


     คีช ( quiche) เป็นอาหารจานอบชนิดหนึ่งโดยมีส่วนประกอบหลักคือ ไข่ นม หรือ ครีม ถึงแม้ว่าคีชจะมีลักษณะคล้ายพายแต่คีชถูกจัดเป็นอาหารคาว โดยในคีชอาจมีส่วนประกอบอื่นเช่น เนื้อสัตว์ ผัก เนยแข็ง     ถึงแม้ว่าคีชจะมีส่วนประกอบหลายอย่างคล้ายอาหารประเภทพาสตา แต่ไม่ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของพาสตา


ราทาทุย ( Ratatouille ) เป็นอาหารพื้นเมืองของฝรั่งเศส ในเขต Provençal โดยมีลักษณะเป็นสตูว์ผัก มีต้นกำเนิดมาจากเมือง Nice ทานตอนใต้ของฝรั่งเศส อาหารชนิดนี้มีชื่อเต็มว่า ratatouille niçoise
       คำว่า ratatouille มาจากภาษาอ็อกซิตันว่า "ratatolha" ราทาทุยปัจจุบันพบเห็นได้ที่ Occitan Provença และ Niça โดยมักจะทำในหน้าร้อนโดยใช้ผักในฤดูร้อน Ratatolha de Niça สูตรดั้งเดิมนั้นจะใช้เพียงแค่ ซุชีนี่, มะเขือเทศ, พริกหยวกแดงและเขียว, หัวหอม, และกระเทียม ราทาทุยในปัจจุบันจะมีการใส่มะเขือลงไปในส่วนผสมด้วย
     ปกติราทาทุยจะเสิร์ฟเป็นอาหารข้างเคียงกับอาหารหลัก หรือบางครั้งก็เสิร์ฟเป็นอาหารหลักบนโต๊ะอาหาร


ขนมปังฝรั่งเศส

     บาเกต ( baguette) หรือ ขนมปังฝรั่งเศส เป็นขนมปังมีลักษณะรูปทรงเป็นแท่งยาวขนาดใหญ่ เปลือกนอกแข็งกรอบ เนื้อในนุ่มเหนียว และเป็นโพรงอากาศ มักนำมาหั่นเฉียงเป็นแผ่นหนา เพื่อรับประทานกับซุป ปาดเนยสด หรือประกอบทำเป็นแซนด์วิช
     ปาเต ( pâté) เป็นอาหารยุโรปประเภทหนึ่ง ในภาษาฝรั่งเศสหมายถึงเนื้อบดผสมไขมัน ปาเตโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นซอสสำหรับทา ทำจากเนื้อบดละเอียดหรือส่วนผสมของเนื้อและตับบดหยาบ ๆ และมักผสมไขมัน ผัก สมุนไพร เครื่องเทศ หรือไวน์ เป็นต้น
     ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศเบลเยียม ปาเตอาจใช้เป็นไส้พายหรือขนมปังแถว เรียก "ปาเตอ็องกรูต" (ฝรั่งเศส: pâté en croûte) หรือใช้อบด้วยแตร์รีนหรือแม่พิมพ์แบบอื่น เรียก "ปาเตอ็องแตร์รีน" (ฝรั่งเศส: pâté en terrine) ปาเตประเภทที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ "ปาเตเดอฟัวกราส์" (ฝรั่งเศส: pâté de foie gras) ทำจากตับของห่านที่ขุนจนอ้วน คำว่า "ฟัวกราส์อองตีเยร์" (ฝรั่งเศส: foie gras entier) หมายถึง ตับห่านธรรมดาที่ได้รับการปรุงสุกและหั่นเป็นแผ่น ไม่ใช่ปาเต
     ส่วนในประเทศฮอลแลนด์ ประเทศเยอรมนี ประเทศฟินแลนด์ ประเทศฮังการี ประเทศสวีเดน และประเทศออสเตรีย ปาเตที่ทำจากตับบางชนิดจะมีลักษณะอ่อนยวบ โดยมากเป็นไส้กรอกที่ใช้ทาได้ ภาษาดัตช์เรียก "leverworst" ภาษาเยอรมันเรียก "leberwurst"

เห็นมั้ยค่ะว่าอาหารฝรั่งเศสที่น่ารับประทานมาเยอะแยะเลย ทั้งยังมีที่มาที่ไปซะด้วย อย่างนี้ต้องไปหาทานบ้างซะแล้ว ฟิ้วววว

Monday, June 10, 2013

Athena Parthenos


วิหารพาร์เธนอน  คือวิหารโบราณบนเนินอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ สร้างเพื่อเป็นศาสนสถานบูชาเทพีเอเธนา หรือเทพีแห่งปัญญา ความรอบรู้ ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมกรีกโบราณที่มีชื่อเสียงที่สุด แสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดของสถาปนิกในสมัยนั้นและถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดกว้าง 101.4 ฟุต หรือ 30.9 เมตร และ ยาว 228.0 ฟุต หรือ 69.5 เมตร
คำว่า พาร์เธนอน นั้นน่าจะมาจากประติมากรรมที่เคยตั้งอยู่ภายในวิหาร คือ Athena Parthenos ซึ่งมีความหมายว่า เทพีอันบริสุทธิ์
วิหารพาร์เธนอนสร้างตามการริเริ่มของเพริเคิล ผู้นำกรุงเอเธนส์ในสมัยนั้น และสร้างโดยมีประติมากรฟีเดียสเป็นผู้ควบคุมงาน การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อ 447 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึงแม้ว่าการก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อ 438 ปีก่อนคริสต์ศักราชแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีการตกแต่งเพิ่มเติมอีก 5 ปี บัญชีส่วนหนึ่งของการก่อสร้างครั้งนี้หลงเหลืออยู่ และแสดงให้เห็นว่างานที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด คือ การขนย้ายหินจากเขาเพนเทลิกัส ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเอเธนส์ไปกว่า 16 กิโลเมตร
วิหารพาร์เธนอนมีขนาดกว้าง 30.9 เมตร ยาว 69.5 เมตร (101.4 × 228.0 ฟุต) เสาภายนอกแต่ละต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.9 เมตร (6.2 ฟุต) และสูง 10.4 เมตร (34.1 ฟุต) เสาที่หัวมุมของวิหารจะมีขนาดใหญ่กว่าเสาอื่นๆ เล็กน้อย หลังคาปูด้วยหินอ่อนซ้อนกัน
เมื่อนำขนาดของวิหารนี้มาคำนวณเป็นอัตราส่วน จะพบว่าหลายๆ แห่งเป็นอัตราส่วนทองคำ เสาด้านหน้าจะมี 8 ต้น และด้านข้างจะมี 17 ต้น

Écris un mél à Rémi pour lui présenter ton pays.

Coucou Rémi,
          Ma pays se composede 77 province.
La Thaïlande est une mona chie constitutionnelle avec le roi Bhumibol Adulyadej.
Bangkok est la capitale de la Thaïlande.
Voisins.
1. La Birmanie
2. Le Laos
3. Le cambodge
4. La Malaisie
Population totate de 64 millions.
                                                                       Aurevoir                        

                                                                                                            Pimsiri